วันที่ 18 มกราคม 2563 ที่สามย่านมิตรทาว์น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดอบรม“การใช้ AI for Thai Platform” แพลตฟอร์ม AI สัญชาติไทย พร้อมใช้งาน ง่ายต่อการใช้งาน ครอบคลุมทั้ง ภาษา รูปภาพ และการสนทนา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้งานในบริบทของความเป็นไทย สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและนำนวัตกรรมด้าน AI ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างเครือข่ายนักสร้างและนักพัฒนาโปรแกรมมด้าน AI ต่อไป
ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) กล่าวแนะนำโครงการอบรม “การใช้ AI for Thai Platform” ว่า AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) สามารถใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย
จุดเด่นของ AI For Thai คือ มีบริการให้พร้อมเรียกใช้งาน ช่วยให้สามารถต่อยอดสร้างสรรค์แอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว สามารถทดสอบใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย* (แบบ Limited Free Service) ประกอบด้วยโมดูลต่าง ๆ ที่รวบรวมเข้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์ม ถูกจำแนกออกเป็น 3กลุ่ม ได้แก่ Language, Vision และ Conversation ซึ่งโมดูลต่าง ๆ จะพร้อมให้ใช้งานในรูปแบบ Web Service หรือ API
· Language บริการด้านประมวลผลข้อความภาษาไทยรอบด้าน เช่น Word Segmentation, POS Tagging, Named Entity Recognition ประกอบด้วย
o Basic NLP (ประมวลผลภาษา)
o TAG Suggestion (แนะนำป้ายกำกับ)
o Machine translation (แปลภาษา)
o Sentiment Analysis (วิเคราะห์ความเห็น)
· Vision บริการด้านวิเคราะห์และเข้าใจภาพและวิดีโอหลากหลาย เช่น OCR, Face Recognition, Person Heatmap ประกอบด้วย
o Character Recognition (แปลงอักษรภาพเป็นข้อความ)
o Object Recognition (รู้จำวัตถุ)
o Face Analytics (วิเคราะห์ใบหน้า)
o Person & Activity Analytics (วิเคราะห์บุคคล)
o Conversation บริการด้านสนทนาแบบครบวงจร ได้แก่
o Speech to Text (แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ)
o Text to Speech (แปลงข้อความเป็นเสียงพูด)
o Chatbot (ระบบโต้ตอบทางข้อความอัตโนมัติ)
เครดิตข้อมูลข่าวโดย : https://www.pptvhd36.com